Web Analytics
ประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย

บทความ เรื่อง "ผู้สร้างตำนานอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตก" พระเจริญวิศวกรรม

อัครบุรุษของวงการฟุตบอลสยามประเทศ ผู้ปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรีของคณะราษฎร์ ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์” ดำรงตนตามคติธรรม 3 ประการแบบตะวันตก คือ INTEGRITY ไม่ปากพูดอย่างใจพูดอย่าง DIGNITY ไม่หมอบกราบผู้ที่ไม่ควรกราบ และ HUMILITY ไม่เอาเด่นเอาดังกับใคร แต่อุทิศกำลังกายและสติปัญญาให้กับราชการงานแผ่นดิน โดยหาญกล้าสร้...างหลังคาสนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ “ตักกศิลาลูกหนัง” มาตรฐานสากลแห่งแรกของกีฬาฟุตบอลไทย อันกลายเป็นตำนานจนถึงปัจจุบัน

บทความ เรื่อง "เพื่อเพื่อน เพื่อชาติ เพื่อเกียรติยศ"

เมื่อสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE ROYAL PATRONAGE OF HISMAJESTIC THE KING) หรือ F.A.T. บริหารงานมาเป็นปีที่ 46 ทีมเยาวชนชาติไทยชนะเลิศฟุตบอลเยาวชนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) อีก 3 ปีต่อมา ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2508 จึงได้ส่งนักเตะทีมชาติไปอบรมและเก็บตัวฝึกซ้อม ณ สหพันธ์สา...ธรณรัฐเยอรมนี รวมเวลา 45 วัน เพื่อให้นักฟุตบอลมีประสบการณ์และมาตรฐานการเล่นทัดเทียมทีมระดับแนวหน้าของทวีปเอเชียสมัยนั้น อย่างเช่น ทีมชาติพม่า, ทีมชาติเวียดนามใต้, ทีมชาติมาเลเซีย, ทีมชาติอินโดนีเซีย และทีมชาติเกาหลีใต้

บทความ เรื่อง “หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม”

ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอลทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ คือ “ทีมชาติอังกฤษ” เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) หรือ 123 ปีที่ผ่านมา

บทความ 2 สัปดาห์ก่อนสิ้น "อัศวิน"

ในโอกาสที่ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ของกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี 2509 (คศ.1966) สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยความช่วยเหลือจากสมาพันธ์ฟุตบอลเยอรมัน ส่งทีมไทยไปฝึกซ้อมและตระเวนแข่งใน เยอรมนี นอร์เวย์ และ อิสราเอล ในเดือน พฤษภาคม 1965 (2508) และผู้รักษาประตูไทย (อัศวิน ธงอินเนตร) ได้สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากในเยอรมนี

บทความ เรื่อง "47 ปี ตำนานทีมชาติไทย-ทีมชาตินอร์เวย์"

ในประวัติศาสตร์ทีมลูกหนังของชาติไทยนั้น ขุนพลธงไตรรงค์เคยลงสนามพบกับทีมชาติชุดใหญ่ของประเทศต่าง ๆ มาเกือบทัวโลก โดยเฉพาะกับทีมที่ลงเล่นฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายมาแล้ว หนึ่งในนั้น คือ “ทีมชาตินอร์เวย์” เจ้าของสถิติการผ่านเข้ารอบสุดท้ายของ “world cup” รวม 2 สมัย (ค.ศ. 1994, 1998) และยังเป็นแมตช์แรกที่ FIFA ให้การรับรองเป็นครั้งแรกของทั้งสองทีมจากต่างทวีป อีกด้วย

บทความ เรื่อง "103 ประตู ของปิยะพงษ์ ผิวอ่อน"

นับตั้งแต่ “รถด่วนสายเหนือ” ศรีนวล (วัฒน์) มโนหรทัต ยิงประตูแรกให้ทีมชาติสยาม ก่อนมีชัยเหนือทีมสปอร์ตคลับ 2-1 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2458 แล้ว นักฟุตบอลทีมชาติไทยคนแรกที่ซัลโวสกอร์ในการแข่งขันระดับทัวร์นาเม้นต์ คือ อนุรัฐ ณ นคร ยิง 1 ประตู ในศึกลูกหนังกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2502 (ชนะ ทีมมาเลเซีย 3-1) ก่อนที่ “รถด่วนเมืองละโว้” อุดมศิลป์ สอ...นบุตรนาค จะทำประตูประวัติศาสตร์ในการลงสนามโอลิมปิก ครั้งที่ 19 ค.ศ.1968 (แพ้ ทีมกัวเตมาลา 1-4)

บทความ เรื่อง "สนามแห่งตำนานศุภชลาศัย"

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2477 เมื่อ พ.อ. แปลก ขีตะสังคะ (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) มอบถ้วยรางวัลให้แก่ทีมชนะเลิศฟุตบอลภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ก่อนที่จะเตรียมออกจากสนามหลวง ได้ถูกมือปืนบุกเดี่ยวเข้ายิง แต่เอี่ยวตัวหลบทัน อีก 3 ปีหลังจากนั้น เมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศไทย จึงได้อนุมัติงบประมาณกว่า 170,000 บาท ตามที่ น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุ้ง ศุภชลาศัย) เสนอเรื่องขึ้นไป เพื่อดำเนินงานสร้าง “สนามกรีฑาสถาน” (National Stadium) ณ บริเวณกรมพลศึกษา ปทุมวัน ซึ่งเป็นพื้นที่เช่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความ เรื่อง "ทีมชาติสยาม กับ WORLD CUP"

 

เมื่อ สมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FEDERATION INTERNAIONAL OF FOOTBALL ASSOCIATION) หรือเรียกย่อว่า FIFA ก่อกำเนิดเกิดขึ้น โดยการประชุมร่วมกันของ 7 ชาติแรก อันได้แก่ ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฮอลแลนด์, สเปน, สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ ใน ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) เพื่อต้องการให้เป็นองค์กรควบคุมการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติทั่วโลก

Load more