Web Analytics
ประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย

บทความ เรื่อง “หัวหน้าทีมชาติสยาม 2458" มจ.สิทธิพร กฤดากร

 

อัตถชีวประวัติที่ยิ่งกว่าชีวิตจริง เชื้อพระบรมวงศ์ผู้ละซึ่งฐานันดรศักดิ์ เพียงเพื่อมุ่งหน้าเป็นเกษตรกร พร้อมบัญญัติปรัชญาชีวิตแบบพอเพียง “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” จึงได้รับการยกย่องว่า คือ “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่” ก่อนกลายเป็นนักโทษการเมือง “กบฎบวรเดช” แต่ในวงการนักเลงฟุตบอลสยามประเทศ คือ “ผู้ก่อตั้งทีมชาติไทย” เมื่อ 96 ปีที่ผันผ่าน

บทความ เรื่อง "อินดิเพนเด้นท์คัพ 1994"

 

ในหน้าบันทึกอนุทินลูกหนังไทย การครองแชมป์สองรายการติดต่อกัน โดยเฉพาะเป็นฝีเท้าของนักเตะชุดบี ยังไม่เคยปรากฎขึ้นมาก่อน และที่สำคัญกว่านั้น คือความสำเร็จนอกประเทศอีกด้วย แต่ปี พ.ศ.2537 ทีมชาติชุดเล็กสามารถสร้างประวัติศาสตร์ครองถ้วยพระราชทานคิงส์คัพได้อย่างประทับใจ ทำให้คอฟุตบอลต่างชื่นชมและศรัทธา ความทุ่มเทของเยาวชนที่รู้จักกันทั่วไป ยุคนั้นว่า “ดรีมทีม”

บทความ เรื่อง "มร.สมิธ ผู้ยิงประตูแรกในสยาม"

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2443 ณ ทุ่งพระเมรุท้องสนามหลวง การแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการ ระหว่าง ทีมศึกษาธิการ กับ ทีมบางกอก ผลเสมอกัน 2 – 2 โดยประตูขึ้นนำครึ่งแรก 1 – 0 นั้น คือการทำประตูแรกของ “Association football” ในเมืองสยาม เป็นฝีเท้าการยิงของ “ครูนักกีฬา” อดีตนักเตะตำแหน่งกองหน้าทีมแอสตัน วิลลา 11 จากประเทศอังกฤษ

บทความ เรื่อง “หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม”

 

ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอลทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ คือ “ทีมชาติอังกฤษ” เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) หรือ 123 ปีที่ผ่านมา

บทความ เรื่อง "อาเซี่ยนคัพ 1996"

 

เมื่อสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC.) วางแนวนโยบายให้การแข่งขันลูกหนังกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 (พ.ศ.2544) ณ ประเทศมาเลเซีย ผู้เล่นจะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี เพื่อสอดคล้องกับฟุตบอลโอลิมปิก ดังนั้น ภาคีอาเซียนจึงดำเนินการก่อตั้ง “สหพันธ์ฟุตบอลแห่งอาเซียน” (AFF.) ขึ้น พร้อมทั้งจัดทัวร์นาเม้นต์ของทีมชาติชุดใหญ่ โดยกำหนดให้มีขึ้นสลับกับซีเกมส์ เรียกชื่อรายการว่า “ฟุตบอลอาเซี่ยนคัพ” (THE ASEAN FOOTBALL CHAMPIONSHIP) หรือรู้จักทั่วไปตามชื่อผู้สนับสนุน สมัยนั้นว่า “ไทเกอร์ คัพ” (TIGER CUP)

บทความ เรื่อง "ตราพระมหามงกุฎ"

 

ในตำนานแห่งประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังโลก คงมีเพียงไม่กี่ทีมเท่านั้น ที่ได้รับเกียรติยศสูงสุดจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้นำตราประจำราชวงศ์มาติดเสื้อนักฟุตบอลทีมชาติ ซึ่งองค์พระประมุขของประเทศทรงถือว่า นักฟุตบอลเป็นผู้แทนของชาติ อันเปรียบเสมือนนักรบยามออกศึกสงครามเพื่อแผ่นดิน และหนึ่งในสองนั้น คือทีมชาติไทย

บทความ เรื่อง "โอลิมปิก 1968 เกียรติยศสุดท้าย"

 

มีคำกล่าวประโยคหนึ่งว่า “หากเริ่มต้นด้วยดีแล้ว ย่อมหมายถึงประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” นั้น คงอาจจะใช้กับทีมชาติไทยชุดปรี-โอลิมปิก เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2511 ไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะการประเดิมสนามรอบคัดเลือกกลุ่ม 6 ระหว่างสามชาติ ณ สนามศุภชลาศัยฯ ทีมชาติไทย แพ้ ทีมชาติอิรัก แบบยับเยินถึง 0 - 4 ทำให้แฟนลูกหนังชาวไทยเลิกมองถึงการลุ้นเป็นตัวแทนไปแข่งขันรอบสุดท้าย ที่เม็กซิโก ชิตี้ ลงทันที

บทความ เรื่อง "รถด่วนเมืองละโว้" อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค

 

ในจำนวนนับพันกว่าประตู ที่บรรดานักเตะทีมชาติไทย สามารถพาลูกเข้าไปซุกก้นตาข่ายฝ่ายตรงข้ามได้นั้น มีอยู่เพียง 1 ลูก ซึ่งอาจจะ ถือว่าเป็นประตูประวัติศาสตร์ของทีมลูกหนังจากแดนสยาม ที่ถูกบันทึกไว้ กับวงการฟุตบอลระดับโลก เพราะเกิดขึ้น ณ สนามกีฬาโอลิมปิก เมื่อ 31 ปี ก่อน ด้วยฝีเท้าของ "รถด่วนเมืองละโว้"

บทความ เรื่อง "ก้าวแรกของความสำเร็จ ASIAN YOUTH 1962"

 

…26 เมษายน 2505 ทีมเยาวชนไทย ชนะ ทีมเยาวชนเกาหลีใต้ 2 - 1…

Load more