บทความ เรื่อง “ผู้นำกีฬาฟุตบอลสู่อิสาน” พระยาสุนทรพิพิธ
ในประวัติศาสตร์วงการศึกษาข องไทย กระทรวงธรรมการยึดหลัก 3 ประการสำคัญ คือการเรียน การเล่นกีฬา และการอบรมจริยธรรม หากนักเรียนทำผิดจะถูกลงโทษ เพื่อต้องการให้เกิดความสำน ึกดี จึงทำให้สยามประเทศผ่านพ้นว ิกฤติการณ์ต่าง ๆ เพราะชาติเรามีทรัพยากรบุคค ลที่เคยผ่าน "ไม้เรียว" มาแล้วแทบทั้งสิ้น และผู้บุกเบิกกีฬาลูกหนังบน แผ่นดินอีสาน ก็เช่นกัน
พระยาสุนทรพิพ...ิธ หรือเชย สุนทรพิพิธ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุ รี เป็นบุตรนายแพ และนางหุ่น สุนทรพิพิธ เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบาง สะแกนอก (หลังตลาดพลู) กับพระหม่อม ที่ใช้การสอนตามแบบครูโบราณ โดยจะทำโทษด้วย "ไม้เรียว" เพื่อต้องการให้ลูกศิษย์จดจ ำ หรือไม่ประพฤติผิดอีก ก่อนจะเข้าศึกษาชั้นประถม โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข (พ.ศ. 2443 - 2446 ) มีเพื่อนเรียนร่วมรุ่น อาทิ พลเอกเจ้าพระยามรามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา), พล.ต.พระยาอนิรุธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ ณ อยุธยา), พันโท พระยาจงสรวิทย์ (เพี้ยน สมิตานนท์), พล.ต.ท.พระรามอินทรา (ดวง จุลยานนท์) ฯ ล ฯ และชั้นมัธยม โรงเรียนวัดนวลนรดิศ (พ.ศ. 2447 - 2448)
"...โรงเรียนมิใช่เป็นเพียง สถานศึกษาให้ความรู้วิชาเท่ านั้น แต่ยังเป็นสถานอบรมความประพ ฤติตลอดถึงนิสัยจิตใจด้วย การอบรมของโรงเรียนนับแต่กา รประชุมฟังคำสั่งสอนของครู การที่ครูคอยตำหนิว่ากล่าวต ักเตือน ตลอดจนการลงโทษเมื่อทำผิด ฯ วิธีการดังกล่าวนี้นับว่าเป ็นเรื่องจำเป็น เพราะเป็นคุณประโยชน์แก่เด็ ก ๆ ผู้เยาว์วัยเป็นอย่างมาก โดยช่วยกล่อมเกลานิสัยเด็กใ ห้เป็นคนดีและมีจิตสำนึก ไม่เป็นบุคคลมีใจกระด้างในก าลเมื่อเติบโตขึ้นต่อไป..." (บันทึกความจำ เล่ม 1 เรื่องการศึกษา (และกีฬา) และการฝึกงานหัวเมือง/ พระยาสุนทรพิพิธ/พ.ศ. 2515)
ต่อมา พระยาสุนทรพิพิธ จึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ ก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎ ราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) อยู่ที่วังปารุสวัน และพระราชวังสราญรมย์ โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเรียนในโรงเรียนมหาด เล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรื อน (ปัจจุบัน คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งสอนวิชามหาดเล็ก วิชาเลขานุการ วิชากฎหมาย วิชาปกครอง และวิชาภาษาอังกฤษ จนจบประกาศนียบัตรวิชารัฏฐป ระศาสน์ โดยพระยาชลบุรานุรักษ (เจริญ จารุจินดา) ข้าหลวงเทศาภิบาล จึงได้ขอตัวไปเป็นผู้ช่วยเล ขานุการมณฑลอีสาน ณ อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2453
"...ฟุตบอล - อุบล เมื่อคราวไปกรุงเทพ ฯ ข้าพเจ้านึกถึงทุ่งศรีเมือง ที่อุบลกว้างใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ของท้องสนามหลวง ไม่เพียงแต่จะเป็นสนามเล่นฟ ุตบอลได้ เขาทำสนามแข่งม้ากันด้วยซ้ำ ไป ข้าพเจ้าเป็นคอฟุตบอลอยู่แล ้ว เวลากลับเมืองอุบลจึงได้ซื้ อฟุตบอลมาด้วย คุณติดเคยเล่นฟุตบอลด้วยกัน เมื่ออยู่โรงเรียนมหาดเล็ก คุณผ่องก็เคยเล่นด้วยก้นเมื ่ออยู่ในวัง ดังนั้นมีพวกเรา 3 คนแล้วที่เล่นฟุตบอลได้ ส่วนข้าราชการอื่น ๆ ดูจะมีอาวุโสเกินกว่าการเล่ นฟุตบอลทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงจับพวกเสมียนพนั กงานที่เคยเป็นนักเรียนมา และพวกครูหนุ่ม ๆ มาเล่นฟุตบอลกัน เดือนสองเดือนต่อมาคนเล่นก็ พอจัดแบ่งเป็นฝ่ายเป็นทีมได ้ ตกเย็นเลิกงานแล้วก็มารวมกั นที่สนาม พวกที่ไม่เคยเตะฟุตบอลพอเตะ ถูกก็ชักจะติด ๆ แล้วก็มีพวกนายทหารและตำรวจ หนุ่ม ๆ ซึ่งรู้จักฟุตบอลมาแล้วแต่ค รั้งอยู่โรงเรียนก็มารวมพวก กับเราด้วย การเล่นจึงเป็นไปตามแบบตามแ ผนและมีการแข่งขันให้เกิดคว ามสนุกได้..." (บันทึกความจำ เล่ม 2 เมื่อเป็นเลขานุการมณฑลอิสา ณ (อุบล)/พระยาสุนทรพิพิธ/ พ.ศ. 2515)
นั้น คือจุดเริ่มต้นของการเล่นฟุ ตบอลในมณฑลอิสานสมัยแรก ภายหลังการนิยมเล่นฟุตบอลเร ิ่มแพร่หลายมากขึ้น จึงจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเ รียนเช่นเดียวกับพระนคร ในขณะนั้น พระยาสุนทรพิพิธ ยังเล่นฟุตบอลให้กับสโมสรเส ือป่ากองม้าหลวงหลายครั้ง เมื่อมีการซ้อมรบเสือป่าตาม มณฑลต่าง ๆ อีกด้วย
กล่าวกันว่า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเ จ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ต้องการใ ห้กีฬาฟุตบอลเป็นที่นิยมในห มู่ของชาวไทยทุกชนชั้น โดยเฉพาะนักเรียน เพราะนอกจากการบำรุงร่างกาย ยังสามารถสร้างความสามัคคีแ ละความเป็นสุภาพบุรุษ คือมีจิตใจอย่างนักกีฬา เมื่อเข้ารับราชการจะทำให้ม องถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่ าประโยชน์ของส่วนตัว ดังบทความตอนหนึ่งจากบันทึก ความจำ เมื่อเป็นปลัดมณฑลอุบลราชธา นี ของพระยาสุนทรพิพิธ ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกั บ "วัตถุ" และ "จิตใจ" โดยเป็นปัญหาของสังคมไทยในป ัจจุบัน ดังนี้
"...หวนนึกถึงวิชาวัฒนธรรมท ี่สอนว่า การบำรุงประเทศชาติให้บังเก ิดความเจริญนั้น จะต้องกระทำทั้งด้านวัตถุแล ะด้านจิตใจบุคคล เมื่อความเจริญบังเกิดแก่ทั ้งสองด้านหรือสองทางสมดุลย์ กันแล้ว ความเจริญนั้นจึงจะให้ผลเป็ นคุณ แต่ถ้าเจริญทางหนึ่งทางใดทา งเดียว เกิดความไม่สมดุลย์กันแล้ว ความเจริญนั้นกลับจะให้ผลเป ็นโทษเป็นอันตราย ข้อนี้ย่อมเล็งเห็นความจริง ได้แจ้งชัด เพราะโลกเรานี้มีคนเป็นสำคั ญกว่าอื่นใดทั้งสิ้น และคนนั้นก็มีจิตใจเป็นสำคั ญยิ่งกว่าสิ่งทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่า "มนุษย์" คือมีใจสูง ถ้ามนุษย์ใดมีใจต่ำ ก็จะเป็นดังที่ว่า "คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน" ฉะนั้น การบำรุงทางด้านจิตใจจึงเป็ นความจำเป็นที่จะละเลยเสียม ิได้..."
อดีตนักฟุตบอลโรงเรียนวัดบพ ิตรพิมุข และโรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2516 นอกจากคุณาประโยชน์ที่ทำให้ กับแผ่นดินจนได้รับการกล่าว ยกย่องแล้ว สำหรับวงการ "หมากเตะ" ของสยาม จำต้องจารึกชื่อท่านในฐานะผ ู้บุกเบิกกีฬาฟุตบอลของมณฑล อีสาน ตลอดไป.
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ ัติ
ในประวัติศาสตร์วงการศึกษาข
พระยาสุนทรพิพ...ิธ หรือเชย สุนทรพิพิธ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุ
"...โรงเรียนมิใช่เป็นเพียง
ต่อมา พระยาสุนทรพิพิธ จึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็
"...ฟุตบอล - อุบล เมื่อคราวไปกรุงเทพ ฯ ข้าพเจ้านึกถึงทุ่งศรีเมือง
นั้น คือจุดเริ่มต้นของการเล่นฟุ
กล่าวกันว่า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเ
"...หวนนึกถึงวิชาวัฒนธรรมท
อดีตนักฟุตบอลโรงเรียนวัดบพ
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ