Web Analytics
ประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย

บทความ เรื่อง “ราชแพทยาลัย” มหาอำนาจหมากเตะ

 

“แต่วัน แต่วัน ไปดูแข่งขันชิงฟุตบอลถ้วยทอง ถ้วยทองเป็นของพระราชะ ถ้าใครชนะได้รับ

ฯ ถ้วยทอง”

 

เพลงเชียร์ของนักเรียนแพทย์ เมื่อ 95 ปีที่ผ่านมา ในปีดังกล่าว สโมสรนักเรียนแพทย์เสือป่า ซึ่งมีแพทย์ฝึกหัดจำนวน 6 คน เป็นผู้เล่นอยู่ในทีมสามารถฝ่าดงแข้งนักเลงฟุตบอลเมืองสยาม กว่า 10 สโมสร จนคว้าถ้วยทองของหลวงสำเร็จเป็นสมัยแรก หากแต่วงการหมากเตะยุคนั้นแล้ว “ราชแพทยาลัย” คือมหาอำนาจของยุคทองฟุตบอลเมืองสยาม

บทความ เรื่อง 111 ปี ฟุตบอลไทย

 

"สยามอารยะกีฬาสากล"

ในวาระครบรอบ 111 ปี ที่กีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของสากล “ฟุตบอล” ได้เข้ามาเผยแพร่และเป็นที่นิยมเล่นกันของชาวสยาม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2443 ดังนั้น จึงขอย้อนอดีตกาลของ “หมากเตะ” จนถึงปัจจุบันสมัย เพื่อร่วมภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ชาติแรกแห่งทวีปเอเชียที่เป็นสมาชิก FIFA ลำดับที่ 37 ของโลก ดังต่อไปนี้

บทความ เรื่อง “อัศวินม้าขาว” เจ้าพระยารามราฆพ

 

นายกสมาคมฟุตบอลฯ คนแรกของสยามประเทศ เมื่อแรกเริ่ม พ.ศ.2459 แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ทำให้สมาคมฟุตบอลฯ กลายเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับความใส่ใจจากฝ่ายบ้านเมือง จนเจ้าพระยารามราฆพ เดินทางกลับสู่มาตุภูมิจึงดำเนินการกอบกู้เกียรติภูมินักเลงฟุตบอลแผ่นดินสยามให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของล้นเกล้าฯ “องค์พระบิดาแห่งฟุตบอลเมืองสยาม”

บทความ เรื่อง “เปเล่ ซัลโวประตูที่สนามศุภฯ”

 

ในวงการฟุตบอลโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คงไม่มีคอลูกหนังคนใดไม่รู้จักชื่อเสียงของ "เปเล่" (Pele) หรือชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า "เอ็ดสัน อารันเตสโต นาสซิเมนโต" (Edison Arantes do Nascimento) เจ้าของฉายา "ไข่มุกดำ" นักเตะผู้มีลีลาการเล่นตื่นตาตื่นใจดังกับท่าเต้นแซมบ้า อีกทั้งการยิงประตูที่สวยสดงดงามบนพื้นหญ้าเขียวขจี ก่อนประสบความสำเร็จสูงสุดอันเป็นตำนานที่ยากแก่การถูกทำลาย ด้วยการนำทีมชาติบราซิลชนะเลิศ World Cup ถึง 3 สมัย (ค.ศ. 1958, 1962, 1970) พร้อมครองถ้วย “จูลท์ ริเม่ล์” เป็นกรรมสิทธิ์ตลอดกาล

บทความ เรื่อง "ถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2519"

 

ในปัจจุบันทัวร์นาเม้นต์หนึ่งของทวีปเอเชีย ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 43 ปี คือ การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแก่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เพื่อมอบให้ทีมชนะเลิศนำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี

บทความ เรื่อง "ตำนานลูกหนังทัพฟ้า"

 

หนึ่งในตำนานสโมสรฟุตบอลสยามประเทศ เมื่อ 5 ทศวรรษที่ผ่านมา กล่าวกันว่ามีแฟนลูกหนังติดตามชมผลงานมากที่สุด จนกลายเป็นทีมขวัญใจมหาชน เจ้าของฉายา “ทีมลูกทัพฟ้า” สโมสรทหารอากาศ พร้อมทั้งสถิติที่ยากแก่การทำลายได้ถูกสร้างขึ้น ด้วยฝีเท้าอันเอกอุของเหล่าขุนพลนักเตะจากทุ่งดอนเมือง คือการชนะเลิศถ้วยสูงสุดของเมืองไทย ถึง 7 ปีซ้อนติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ.2500-2506 เรื่องราวที่กล่าวขานด้วยความภาคภูมิใจแห่งยุคสมัย

บทความ เรื่อง "ลูกผู้ชายหัวใจลูกหนัง" วิทยา เลาหกุล

 

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2516 เอกไชย สนธิขัณฑ์ คือนักฟุตบอลทีมชาติไทยคนแรกที่เดินทางไปเล่นต่างแดน สังกัดสโมสรแรงเยอร์ของฮ่องกง ต่อมามีนักเตะสยามขึ้นเครื่องไปพิสูจน์ฝีเท้าอีกหลายคน เช่น ชัชชัย พหลแพทย์ และประพนธ์ ตันตริยานนท์ ในสโมสรโซโก้ ก่อนที่หน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าเด็กหนุ่มจากเมืองเหนือ คือนักฟุต บอลไทยคนแรก ในลีกอาชีพของยุโรป

บทความ เรื่อง "นักเลงฟุตบอลสวนกุหลาบ"

 

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2443 ณ ท้องสนามหลวง กระทรวงธรรมจัดการแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น หรือ "ASSOCIATION FOOTBALL" อย่างเป็นทางการครั้งแรกในสยามประเทศ ระหว่าง ทีมบางกอก กับ ทีมศึกษาธิการ ผู้เล่นฝ่ายแรกเป็นคนอังกฤษ ส่วนฝ่ายหลังมีทั้งคนสยามและชาวยุโรป ผลเสมอกัน 2 - 2 (0 - 1) โดยนักเตะของทีมศึกษาธิการ คือ W.G.JOHNSON, E.S.SMITH, H.E. SPIVEY และนายจำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พระยาอานุภาพไตรภพ) กลุ่มบุคคลสำคัญที่ช่วยกันบุกเบิกกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

บทความ เรื่อง “บุรุษผู้นำฟุตบอลสู่สยาม" เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

 

นักปฏิวัติการศึกษาคนสำคัญของชาติ หรือรู้จักกันในนาม "ครูเทพ" ผู้มีริ้วหนวดดกดำเหนือริมฝีปาก ก่อนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกในระบอบประชาธิปไตย กล่าวกันว่าท่าน คือผู้นำกีฬาฟุตบอลเข้ามาสู่เมืองสยาม

Load more